Thursday, November 21, 2024
HomeCAREACV/IACV/IAC/ISC

EACV/IACV/IAC/ISC

มอเตอร์ควบคุมรอบเดินเบา

ก่อนที่จะเข้าเรื่องมอเตอร์ควบคุมรอบเดินเบา จะกล่าวถึง PGMFI (Programmed Fuel Injection) ซึ่งทำหน้าที่ในการใช้ระบบอิเล็คโทคนิคส์ (ECU) เข้ามาควมคุมการฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีปริมาณที่เหมาะสมกับการทำงานของเครื่องยนต์ให้สภาวะต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพปริมาณไอเสียต่ำ ประหยัดน้ำมันและให้สมรรถนะการขับขี่ที่ดีขึ้น แล้วมันไปสัมพันธ์อะไรกับมอเตอร์ควบคุมรอบเดินเบา ซึ่งความสัมพันธ์ก็คือเมื่อปริมาณเปลี่ยนแปลงภายในระบบ PGMFI ก็จะมีการตีความหมายให้กับกล่อง ECU ทำการเพิ่มหรือลดปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อให้เครื่องยนต์มีความเสถียรภาพ ดังนี้เมือมีการปรับปริมาณอากาศในส่วนที่เป็นแวคคัมซึ่งเป็นท่อไอดีจะมีผลทำให้รอบเครื่องยนต์มีการชดเชยรอบของเครื่องยนต์ให้มีความเร็วรอบคงที่และเครื่องยนต์ก็จะทำงานเสถียรภาพมากขึ้น อย่างที่เห็นได้ชัดคือ เมื่อแอร์ทำงานแล้วรอบเครื่องตกเป็นต้น ซึ่งเครื่องยนต์นั้นมี sensor ต่างๆ รอบเครื่องยนต์ ยกตัวอย่างเช่น ที่คอมเพชเซอร์เป็นต้น

EACV & IACV &ISC

EACV (Electronic Air Control Valve) กับ IACV (Idle Air Control Valve) หรือ ISC (idle Speed Control) มันเป็นชื่อที่เรียกตัวมอเตอร์เดินเบาทั้งหมดแหละครับหลักการมันก็เหมือนกันก็คือทำหน้าที่ทําควบคุมปริมาณการไหลของอากาศ ซึ่งมีผลต่อการควบคุมรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ โดยการทํางานของ EACV นั้นจะถูกควบคุมมาจาก ECU ขึ้นอยู่กับสภาวะต่างๆของเครื่องยนต์ เช่น เปิดแอร์ หมุนพวงมาลัยเพาเวอร์ และอุณหภูมิความร้อนของเครื่องยนต์ แต่ทำไมมันเรียกต่างกัน มันก็แล้วแต่ว่าอยู่ในรถอะไร ถ้าเป็น HONDA บางรุ่นจะเรียกว่า EACV หรือ TOYOTA จะเรียกว่า IACV หรือ IAC ก็มีนะครับ แต่มันต้องบอกก่อนนะ มันไม่ได้มีหน้าที่ไปควบคุมรอบเดินเบาเครื่องโดยตรง แต่มันไปทำงานปรับอัตราอากาศให้มีความสัมพันธ์กับความเร็วคือ เมื่อปริมาณอากาศเพิ่มขึ้น ECU ก็จะทำหน้าที่จ่ายน้ำมันเพ่ิมขึ้นเพื่อรักษาความเร็วรอบให้คงที่นั้นเอง

EACV/IACV/IAC/ISC มีแบบไหนบ้าง

แบบสเต็บมอเตอร์

IAC Volvo S40

เป็นแบบที่ใช้ step motor เป็นตัวปิดเปิดตัวแอร์โฟว์ (air-flow) ซึ่ง IACV แบบนี้จะประกอบด้วยตัว step motor มีแบบ 4 คอยล์และแกนหมุนซึ่งเป็นแม่เหล็ก ซึ่งหลักการทำของมันก็คือตำแหน่งในการปิดเปิดซึ่งสามารถมีค่าได้ถึง 125 ตำแหน่งซึ่งมีความละเอียดมาก เพราะสามารถทำให้รักษารอบเดินเบาให้คงที่ได้ เมื่อแอร์ หรือเครื่องมีโหลดการทำงาน โดยจะสั่งให้ step motor เข้าหรือออก ตามที่ ECM (Electronic control module)  ส่งมาเป็น pulse ทำให้ step motor ทำงานรอบของที่สั่งมาจาก ECM  ซึ่งจากข้อมูลจะพบว่าจะอยู่ใรรถยุโรปเป็นส่วนใหญ่เช่น Volvo, Peugeot เป็นต้น

ตำแหน่ง IAC Volvo S40

Duty-Control Rotary Solenoid IAC (โซลินอยล์ IACV)

IACV แบบโรตารี่

การทำงานแบบนี้จะใช้หลักการง่ายๆมากคือจะมีแค่เปิดหรือปิดเท่านั้น โดยหลักการของมันจะอาศัยการสั่งการทำงานมาจาก ECM โดยตรงซึ่งเมือต้องการให้ตัว IAC ทำงานโดยจะส่งสัญญานไปที่โซลินอยล์ เมื่อโซลินอยล์ได้รับสัญญานจาก ECM ก็จะทำการบายพาท หรือ บล๊อกอากาศให้ไหลผ่านท่อ intake ไม่มี step การทำงานหลายชั้้น ซึ่งจะพบใน TOYOTA เป็นต้น การทดสอบก็ไม่ยุ่งยาก เพราะมีแค่ปิดหรือเปิด ลิ้นอากาศ จะใช้ในกรณีชดเชยรอบเท่านั้น ไม่สามารถปรับให้อากาศเข้ามากหรือน้อยตามต้องการได้ ทำหน้าที่ควบคุมรอบเดินเบาให้มีค่าคงที่ทุกภาระโหลด ไม่ว่าจะเปิดแอร์ เข้าเกียร์ (กรณีเกียร์ออโต้)  หมุนพวงมาลัย หรือ แม้กระทั่งการเปิดไฟหน้ารถ เนื่องจากการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้จะอาศัยกำลังงานจากเครื่องยนต์เพื่อขับเคลื่อน  จึงทำให้รอบเครื่องยนต์ตกลงจากเดิม  หากไม่มีอุปกรณ์ช่วยชดเชยรอบ เครื่องยนต์จะไม่สามารถรักษารอบเดินเบาให้คงที่อยู่ตลอดเวลาได้

Duty-Control- ACV System

IACV HONDA

เป็นตัวที่ยังใช้หลักการเดิมของโซลินอยล์วาว์แต่ปรับปรุงการ control ให้ดีขึ้นโดยการเพิ่มวงจรที่เรียกว่า ISC control (idle speed control) Y-ISC ทำหน้าที่ส่งการคอนโทรลเป็นแบบ pulse จะเล็กหรือยังมีผลต่อการเปิดหรือปิดของ ACV (Air control valve) การควบคุมอากาศทำโดยการปรับเปลี่ยนขนาดของสัญญานความถี่ให้เปิดหรือปิดช้าหรือเร็วตามขนาดของ pulse จะพบใน HONDA

On/Off VSV

จริงๆแล้ว VSV (Vacuum Switching Valve)  จะถูก control โดย ECM อยู่แล้วแต่จะมีระบบที่เพิ่มเติ่มขึ้นมาเพื่อให้ระบบรอบเดินเบาทำงานได้ดีขึ้นโดยการเพิ่มระบบ control air เพิ่มเข้ามา (defogger switch) ซึ่งปกติจะมีตัวเดียว แต่รถบางระบบอาจมี Air หลังด้วย ก็จะนำเข้าคิดในการปิดเปิดด้วย ไม่ถือว่าซับซ้อนอะไร แต่เพ่ิ่มการ control ให้มากขึ้น

หวังว่าจะเป็นความรู้นะครับ ยังไม่ได้ลงรายละเอียดเท่าที่ควรจะมา update ครับ

RELATED ARTICLES

Most Popular

Recent Comments